เมนู

เอกกนิทเทส


อธิบายบุคคล 1 จำพวก


[17]

สมยวิมุตตบุคคล

บุคคลผู้พ้นแล้วในสมัย เป็นไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ ถูกต้องวิโมกข์ 8 ด้วยกาย ในกาลโดยกาล
ในสมัยโดยสมัย แล้วสำเร็จอิริยาบถอยู่. อนึ่ง อาสวะบางอย่างของบุคคลนั้น
หมดสิ้นแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา บุคคลนี้เรียกว่า บุคคลผู้พ้นแล้วใน
สมัย.


อรรถกถาเอกกนิทเทส สมยวิมุตตบุคคล


บัดนี้ เพื่อจะจำแนกมาติกา ตามที่ได้ดังไว้แต่ต้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสคำเป็นอาทิว่า "กตโม จปุคฺคโล สมยวิมุตฺโต" แปลว่า ก็สมยวิมุตต
บุคคล
เป็นไฉน ? ในคำเหล่านั้น คำว่า อิธ ได้แก่ ในสัตวโลก. คำว่า
เอกจฺโจ ปุคฺคโล ได้แก่ บุคคลคนหนึ่ง. ในคำว่า กาเลน กาลํ นี้
พึงทราบเนื้อความด้วยสัตตมีวิภัตติ. อธิบายว่า ในกาลหนึ่ง ๆ คำว่า " สมเยน
สมยํ"
นี้เป็นไวพจน์ของคำก่อนนั้นแหละ (คือเป็นไวพจน์ของคำว่า กาเลน
กาลํ
) คำว่า "อฏฺฐ วิโมกฺเข" ได้แก่ สมาบัติ 8 อันเป็นรูปาวจร และ
อรูปาวจรฌาน. จริงอยู่ คำว่า วิโมกข์ นี้เป็นชื่อของสมาบัติ 8 เหล่านั้นเพราะ
พ้นจากธรรมอันเป็นข้าศึกทั้งหลาย. คำว่า "กาเยน" ได้แก่ นามกายที่เกิด
พร้อมกับวิโมกข์. คำว่า "ผุสิตฺวา วิหรติ" ได้แก่ ได้สมาบัติแล้ว จึงผลัด
เปลี่ยนอิริยาบถอยู่.
ถามว่า ก็ สมยวิมุตตบุคคลนี้ ถูกต้องวิโมกข์ แล้วอยู่ในกาลไหน ?

ตอบว่า ก็ธรรมดาว่า กาลของท่านผู้ปรารถนาจะเข้าสมาบัติมีอยู่ แต่
ชื่อว่า อกาล หามีไม่.
บรรดา กาลและอกาล คือ สมัย มิใช่สมัยทั้ง 2 อย่างนี้ ก็กาลที่กำลัง
ปฏิบัติสรีระแต่เช้าตรู่ 1 กาลที่กำลังทำวัตร 1 ชื่อว่า สมัยมิใช่กาล ของท่าน
ผู้เข้าสมาบัติ. กาลเป็นที่ปฏิบัติสรีระ และทำวัตรเสร็จแล้ว จึงเข้าไปสู่ที่อยู่
พักอยู่จนกระทั่งถึงเวลาจะไปบิณฑบาต ในระหว่างนี้ ชื่อว่า กาลของท่าน
เข้าสมาบัติ.

ก็กาลเป็นที่วันทาพระเจดีย์ของภิกษุ ผู้กำหนดเวลาไปบิณฑบาตแล้ว
ออกไป 1 กาลเป็นที่ยืนอยู่ในโรงวิตกของภิกษุ ผู้ที่แวดล้อมด้วยหมู่แห่งภิกษุ
1 กาลเป็นที่เที่ยวไปเพื่อบิณฑบาต1 กาลเป็นที่เที่ยวไปในบ้าน 1 กาลเป็น
ที่ดื่มข้าวยาคูในโรงฉันภัต 1 กาลเป็นที่กระทำวัตร 1 กาลทั้งหมดนี้ ชื่อว่า
อกาล คือ สมัยมิใช่กาลของท่านผู้เข้าสมาบัติ. ก็เมื่อโอกาสอันสงัดในโรงฉัน
ภัตมีอยู่ และยังไม่ถึงเวลาฉันภัตตาหาร ในระหว่างเวลาแม้นี้ ก็ชื่อว่า กาล
ของท่านผู้เขาสมาบัติ.

อนึ่ง เวลาฉันภัตตาหาร 1 เวลาไปสู่วิหาร 1 เวลาเก็บรักษาบาตร
และจีวร 1 เวลากระทำวัตรในเวลากลางวัน 1 เวลาในการสอบถาม 1 กาล
ทั้งหมดนี้ ก็ชื่อว่า อกาล คือ สมัยมิใช่กาลของท่านผู้เข้าสมาบัติ. กาลใดมิใช่
กาล กาลนั้นนั่นแหละ มิใช่สมัย.
กิจนั้น แม้ทั้งหมด ยกเว้นกาลที่เหลือ สมัยที่เหลือ ท่านเรียกว่า
บุคคลบางคนในโลกนี้ได้วิโมกข์ 8 มีประการดังกล่าวแล้ว ด้วยสหชาตนามกาย
อยู่ ฯลฯ อีกประการหนึ่ง บุคคลนี้ ชื่อว่า ถูกต้องสหชาตธรรมทั้งหลาย พร้อม
กับผัสสะ. ชื่อว่า ถูกต้องอัปปนา ด้วยอุปจาระ ชื่อว่า ย่อมถูกต้องอัปปนา

อื่นอีก ด้วยอัปปนาแรก. ก็ธรรมเหล่าใด เกิดพร้อมกับธรรมเหล่าใด ธรรม
เหล่านั้น ชื่อว่า เป็นธรรมอันท่านได้แล้วกับธรรมนั้น ฉะนั้น จึงชื่อว่า ถูก
ต้องแล้วแม้ด้วยผัสสะ. แม้อุปจาระ . ก็เป็นเหตุแห่งการได้อัปปนานั่น แหละ.
อัปปนาแรก ก็เป็นเหตุให้ได้อัปปนาอื่น ๆ อีกเหมือนกัน ในอุปจาระและอัป-
ปนาเหล่านั้น พึงทราบการถูกต้องสหชาตธรรมทั้งหลาย ด้วยสหชาตธรรมทั้ง
หลายของพระโยคีบุคคลนั้น ด้วยประการฉะนี้.
ก็ ปฐมฌาน มีองค์ 5 มีวิตกเป็นต้น เว้นองค์ฌานทั้ง 5 เสียแล้ว
ธรรมที่เหลือเกิน 50 เรียกว่า นามขันธ์ 4. พระโยคีบุคคล ถูกต้อง คือ
ได้เฉพาะปฐมฌานสมาบัติวิโมกข์ ด้วยนามกายนั้น แล้วจึงอยู่.
ทุติยฌาน มีองค์ 3 คือ ปีติ สุข และเอกัคคตา. ตติยฌาน มี
องค์ 2 คือ สุข และเอกัคคตา. จตุตถฌาน มีองค์ 2 คือ อุเบกขา และ
เอกัคคตา. อนึ่ง อากาสานัญจายตนฌาน ฯลฯ เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
มีองค์ 2 เหมือนกับ จตุตถฌาน. ในฌานเหล่านั้น คือ ตั้งแต่ ปฐมฌาน
ถึงเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ยกเว้นองค์ฌานเหล่านั้นเสียแล้ว ธรรมทั้ง
หลายที่เหลือเกิน 50 เรียกว่า นามขันธ์ 4. พระโยคีบุคคล ถูกต้อง คือ ได้
เฉพาะเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติวิโมกข์ ด้วยนามกายนั้นแล้วจึงอยู่.
คำว่า "ปญฺญาย จสฺส ทิสฺวา" อธิบายว่า เพราะเห็นความเป็น
ไปแห่งสังขารด้วยวิปัสสนาปัญญา เห็นสัจธรรมทั้งสี่ ด้วยมรรคปัญญา. คำว่า
"เอกจฺเจ อาสวา ปริกฺขีณา โหนฺติ" อธิบายว่า อาสวะทั้งหลาย อัน
ปฐมมรรคเป็นต้น พึงฆ่าส่วนหนึ่ง ๆ สิ้นไปแล้ว บุคคลนี้ ท่านเรียกว่า
"สมยวิมุตฺโต" แปลว่า ผู้พ้นแล้วโดยสมัย. ในข้อว่า "ปุคฺคโล สมย-
วิมุตฺโต"
นี้จะกล่าวว่า บุคคลผู้ได้สมาบัติ 8 ถูกต้องวิโมกข์ ด้วยนามกายนั้น

แล้ว จึงอยู่ก็ควร แต่ในพระบาลีท่านกล่าวไว้ว่า "เอกจฺเจ อาสวา ปริกฺ
ขีณา"
แปลว่า อาสวะบางอย่างสิ้นไปแล้ว จริงอย่างนั้น ขึ้นชื่อว่า อาสวะ
ทั้งหลายของปุถุชนสิ้นไปแล้วย่อมไม่มี เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึง
ไม่ทรงประสงค์เอาปุถุชน ที่ถูกควรจะกล่าวว่า แม้พระขีณาสพ ผู้ได้สมาบัติ
8 ถูกต้องวิโมกข์ด้วยนามกายนั้นแล้วอยู่ แต่ว่า ธรรมดาว่าอาสวะทั้งหลายของ
พระขีณาสพนั้นยังไม่สิ้นไปมิได้มี เพราะฉะนั้น พระขีณาสพนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้าก็มิได้ทรงพระประสงค์เอา. ก็คำว่า "สมยวิมุตฺโต" นี้ พึงทราบ
ว่าเป็นชื่อของพระโสดาบัน พระสกทาคามี และพระอนาคามี รวม 3 จำพวก
เท่านั้น
จบอรรถกถาสมยวิมุตตบุคคล

[18]

อสมยวิมุตตบุคคล

บุคคลผู้มิใช่พ้นแล้วในสมัย เป็น
ไฉน ?

บุคคลบางคนโนโลกนี้ มิได้ถูกต้องวิโมกข์ 8 ด้วยกาย ในกาลโดย
กาล ในสมัยโดยสมัย สำเร็จอิริยาบถอยู่ อนึ่ง อาสวะทั้งหลายของบุคคลนั้น
หมดสิ้นแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา บุคคลนี้ เรียกว่า ผู้มิใช่พ้นแล้วในสมัย
พระอริยบุคคลแม้ทั้งปวง ชื่อว่า ผู้มิใช่พ้นแล้วในสมัย ในวิโมกข์ส่วนที่
เป็นอริยะ.

อรรถกถาอสมยวิมมุตตบุคคล


ก็ในนิเทศว่า "อสมยวิมุตฺโต" พึงทราบเช่นกับคำก่อน โดยนัยที่
กล่าวแล้วนั่นเทียว. อนึ่ง คำว่า "อสมยวิมุตฺโต" นี้ ในที่นี้เป็นชื่อของ